วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559

10 ขั้นตอนในการเริ่มต้นสร้างธุรกิจ E-commerce ด้วยตัวคุณเอง แบบ Step by Step

10 ขั้นตอนในการเริ่มต้นสร้างธุรกิจ E-commerce ด้วยตัวคุณเอง แบบ Step by Step


สวัสดีครับสำหรับบทความนี้ ผมอยากจะมาแบ่งปันเพื่อน ๆ ในการเริ่มต้นทำธุรกิจ E-commerce สำหรับมือใหม่ ที่ตัวผมเองนั้นได้มีประสบการณ์การทำธุรกิจ การตลาด และการขาย ตั้งแต่สินค้าชิ้นละหลักร้อย จนถึงชิ้นละหลักล้าน ตลอดช่วงเวลาที่เริ่มต้นการทำบริษัท Leader Wings นี้ขึ้นมา ตั้งแต่ปี 2015
มีประสบการณ์หลาย ๆ อย่าง ที่เกิดขึ้นและแน่นอนว่าเกิดจากการล้มเหลวซะเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ผมเองก็ได้เรียนรู้จากความผิดพลาดนั้น ๆ นำมาปรับปรุงแก้ไขให้มันดีขึ้นอยู่เสมอ
ดังนั้น สำหรับ เนื้อหาในบทความนี้ จึงไม่ใช่ ตำราลับอันใด เพราะทุกอย่างล้วนมีมาก่อนหน้านี้อยู่แล้ว เพียงแต่นำมาเรียบเรียงใหม่ จากประสบการณ์ส่วนตัว และการหาความรู้เพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นจากการอ่านหนังสือ การเข้าสัมมนา การพูดคุยกับนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ หรือแม้แต่การเรียนคอร์สออนไลน์ต่าง ๆ ที่สามารถช่วยให้ธุรกิจมันดีขึ้นได้
การอ่านหนังสือคุณจะได้ความรู้ระดับหนึ่ง การคุยปรึกษาหารือกับนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจะยิ่งช่วยให้คุณไม่ต้องไปเสียเวลาลองผิดลองถูกได้อย่างมาก แต่สุดท้ายการลงมือทำคือทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะมันจะเป็นการคอนเฟิร์มว่า สิ่งที่คุณคิดนั้น คุณไม่ได้มโนไปเอง แต่หากเกิดจากการเรียนรู้และวางแผนอย่างเป็นระบบ
ดังนั้น บางอย่างที่ท่านผู้อ่านคิดว่า อ่านข้อใดข้อหนึ่งแล้ว ฉุกคิดขึ้นได้ และสามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจท่านได้ ก็แนะนำเอาไปเฉพาะ ข้อที่เหมาะสมกับตัวท่านเอง
เพราะทุกธุรกิจ ย่อมมีความแตกต่างกันไป แต่โดยหลักการส่วนใหญ่ของคนทำธุรกิจ E-commerce มักจะมีส่วนที่เป็นแกนหลักเหมือน ๆ กัน เพราะยังไง ธุรกิจก็คือธุรกิจวันยังค่ำ ต้องมีการซื้อมา ขายไป

ขั้นตอนที่ 1: เลือกตลาดที่เราชอบหรือเป็นลูกค้าอยู่แล้ว

ช่วงแรก ๆ ของการเริ่มต้นก่อนที่จะทำธุรกิจก็คือ คำถามในทำนองที่ว่า “จะขายอะไรดี?” เป็นปัญหาโลกแตกตลอดสำหรับคนที่กำลังจะเริ่มต้นทำธุรกิจ
แต่อีกประเด็นหนึ่งก็มีไม่แพ้กันก็คือ “ต้องเลือกลูกค้าก่อนตัวสินค้าสิถึงจะถูก”
ซึ่งในมุมมองของนักการตลาดแล้ว ควรเริ่มต้นจากลูกค้าก่อนเสมอ แต่ก็มีไม่น้อยสำหรับนักธุรกิจหลาย ๆ ท่าน ที่ประสบความสำเร็จ ก็มักจะเริ่มต้นจากความชอบส่วนตัวก่อน
ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะเลือกอะไรขึ้นต้นก่อน ก็ไม่น่าจะผิดมากนัก แต่สำหรับในข้อนี้ หากคุณเริ่มต้นจากหัวข้อที่เราชอบเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แถมตัวเราเองก็ยังคงซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ตลอดอยู่แล้วด้วยจะยิ่งดีมาก ๆ เพราะ…
ในฐานะที่เราเป็นลูกค้าในตลาดนี้เองอยู่แล้ว ทำให้เราเข้าใจหัวอก “ลูกค้า” ว่า เพราะสาเหตุใด เราจึงเลือกซื้อสินค้าและผลิตภัณฑ์ในตลาดนี้ มันจะทำให้เราเข้าใจลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น เพราะแม้แต่เราเองก็ยังเป็นลูกค้าในตลาดนี้เช่นกัน
และข้อดีอีกอย่างหนึ่งก็คือ การที่เราชอบอะไรสักอย่างนั้น เราสามารถอยู่กับมันได้อย่างไม่รู้จักเหน็ดจักเหนื่อย และสามารถหาอัพเดทข้อมูลใหม่ ๆ เกี่ยวกับมันได้อยู่เสมอ แม้ว่าเวลาจะผ่านไปกี่ปีก็ตาม

3 ขั้นตอนในการเลือกตลาดที่จะทำ

  • ขั้นตอนที่ 1 – เลือกตลาดที่เราคุ้นเคยจากความชอบและเป็นลูกค้าในตลาดนั้น ๆ อยู่แล้ว
  • ขั้นตอนที่ 2 – เลือกตลาดที่เราจะสามารถอยู่กับมันไปได้อย่างน้อยอีก 5 ปี 10 ปี โดยไม่มีเบื่อ
  • ขั้นตอนที่ 3 – หากยังนึกไม่ออก ให้ลองเลือกตลาดที่เรากำลังจะเป็นลูกค้าก็ยิ่งน่าสนใจ เพราะก่อนที่เราจะเป็นลูกค้า เราก็มักจะค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ เป็นปกติ
ตัวอย่างเช่น ผมเอง ชอบในการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด การขาย เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ผมเองก็มักจะเป็นลูกค้า ที่ซื้อสินค้าประเภท หนังสือธุรกิจ หนังสือพัฒนาตนเอง บัตรเข้างานสัมมนา คอร์สเรียนออนไลน์ เป็นปกติ
ดังนั้น ผมจึงเริ่มต้นเลือกตลาด “ขายความรู้” กับ Leader Wings ขึ้นมานั่นเอง เพราะผมเชื่อว่า คนเราไม่ได้จบการเรียนรู้แค่เพียงในสถาบันการศึกษา แต่คนเรามีการเรียนรู้ตลอดช่วงชีวิตอยู่แล้ว เพราะผมเองเชื่อว่า
“เมื่อไหร่ก็ตามที่เราหยุดเรียนรู้ ก็เท่ากับเราเดินถอยหลังโดยไม่รู้ตัว”
เพราะเมื่อใดก็ตามที่เราคิดว่าเก่งแล้ว ไม่ต้องเรียนเพิ่มแล้ว เราก็จะกลายเป็นน้ำเต็มแก้วที่หยุดเรียนรู้ แต่ในขณะที่คู่แข่ง ไม่เคยหยุดพัฒนา ไม่เคยหยุดเรียนรู้ และสุดท้าย แม้ว่าคุณจะเป็นเจ้าตลาดใน ณ ขณะนั้น แต่สุดท้ายในระยะยาว กว่าคุณจะรู้ตัวอีกที ธุรกิจคุณก็อาจจะเจ๊ง เพราะโดนคู่แข่งแซงไปแล้วเรียบร้อยนั่นเอง
แต่จู่ ๆ จะกระโดดเข้าสู่ธุรกิจ แล้วสร้างสินค้าขึ้นมาขายเลยนั้น ก็ออกจะแปลก ๆ ไปสักหน่อย เพราะจู่ ๆ คุณก็โพสขายของบนเว็บไซต์ บน Facebook แล้วก็จะขายได้เลย เพราะต่อให้คุณมีสินค้าที่ดีแค่ไหนก็ตาม แต่หากผู้คนยังไม่รับรู้ถึงคุณประโยชน์ในตัวสินค้านั้น หรือคุณไม่เคยได้ให้คุณค่าอะไรกับผู้คนเลย ก็ยากมากที่จะทำให้คนซื้อสินค้าจากคุณ แม้ว่าสินค้านั้นมันจะเจ๋งแค่ไหนก็ตามที

ขั้นตอนที่ 2: เลือกกลุ่มลูกค้าของคุณ

เมื่อเลือกตลาดที่เราจะเล่นได้แล้ว ต่อมาคือขั้นตอนการเลือกกลุ่มคนที่เราจะส่งข้อมูลที่มีประโยชน์ออกไป เราจำเป็นที่จะต้องเลือกกลุ่มคนให้แคบที่สุดเท่าที่จะทำได้ในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ แม้ว่าตัวสินค้าหรือบริการของเราอาจจะมีประโยชน์กับคนทั้งประเทศหรือทั้งโลกก็ตาม แต่เราไม่สามารถที่จะทำการตลาดในกลุ่มที่กว้างขนาดนั้นได้
คุณลองคิดเล่น ๆ ดูว่า ถ้าสมมติ คุณลงเงินโฆษณาบน Facebook จำนวน 50 บาท และสามารถเข้าถึงผู้คนบนโลกออนไลน์ได้ 1,000 คน
ถ้าหากคุณต้องการเข้าถึงผู้คน 1 ล้านคน จะต้องใช้งบประมาณในโฆษณานี้ 50,000 บาท (แต่ประเด็นก็คือ ไม่มีอะไรการันตีได้เลยว่า ยอดขายคุณจะกลับมาเท่าไหร่ และจะเข้าถึงคน 1 ล้านคนได้จริงหรือไม่)
ดังนั้น เราจำเป็นที่จะต้องระบุลักษณะของลูกค้าของเราให้ชัดเจนมากที่สุด เช่น ช่วงอายุ เพศ การศึกษา ไลฟ์สไตล์ สถานะ อาชีพ เป็นต้น
ข่าวดีก็คือ การลงโฆษณาบน Facebook นั้น สามารถระบุกลุ่มเป้าหมายได้ค่อนข้างละเอียดมาก เมื่อเทียบกับการลงโฆษณาบนโลกออนไลน์แบบอื่น ๆ ที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน
เพื่อให้ง่ายต่อการเห็นภาพ ผมจะยกตัวอย่างจากประสบการณ์ของผมเอง
เช่น สมมติว่าผมเลือกหัวข้อเกี่ยวกับ วิศวกรไฟฟ้า (เพราะผมเรียนจบทางด้านนี้มา) สมัยเรียนผมเก่งเป็นบางวิชา เข้าขั้นโดดเด่นในวิชานั้น ๆ (แม้หลาย ๆ วิชาผมจะห่วยแตกก็ตามที) ผมถนัดด้านการเขียนโปรแกรมไฟฟ้า
กลุ่มคนที่ผมเลือกจะสอนหรือกลุ่มผู้ฟังของผม คือ วิศกรไฟฟ้าที่ไม่ค่อยเก่งเรื่องโปรแกรมไฟฟ้า หรือต้องการเก่งโปรแกรมไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น ดังนั้นกลุ่มผู้ฟังของผมก็คงจะเป็น
  • ผู้ชาย(วิศวกรส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้ชาย)
  • อายุช่วงเริ่มต้นทำงาน จนทำงานได้สักระยะ จะประมาณ 22-30 ปี
  • มีอาชีพวิศวกรไฟฟ้า
  • ทำงานบริษัทเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมไฟฟ้า เป็นต้น
หากเป็นสินค้าของ Leader Wings เอง ที่แพคเกจความรู้ในรูปแบบของคอร์สวีดีโอต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ การตลาดออนไลน์ การขาย และการบริหารธุรกิจ ก็มักจะมีกลุ่มลูกค้าที่คล้ายคลึงกัน เช่น

คอร์สวีดีโอ How to Win Buyer

  • กลุ่มลูกค้าคือ นักขาย ผู้บริหารทีมขาย เจ้าของกิจการ ที่ต้องการนำเสนอสินค้าหรือบริการแก่ผู้ที่เป็นจัดซื้อของบริษัทคู่ค้า ในรูปแบบ B2B (Business to Business)

คอร์สวีดีโอ How to Win Fanpage

  • กลุ่มลูกค้าคือ เจ้าของธุรกิจ พ่อค้า แม่ค้า ออนไลน์ ที่กำลังประสบปัญหาการทำโฆษณาบน Facebook แล้วไม่ได้ผลเหมือนการยิงโฆษณาแบบเมื่อก่อน ยอดขายตก ยิงโฆษณาแล้วยอดไม่มา

คอร์สวีดีโอ Digital CEO for Retail Business

  • กลุ่มลูกค้าคือ เจ้าของธุรกิจค้าปลีก ที่เก่งการขายออฟไลน์แต่ต้องการขยายธุรกิจไปสู่ออนไลน์

คอร์สวีดีโอ Digital CEO for Coaches and Trainers

  • กลุ่มลูกค้าคือ โค้ชและเทรนเนอร์ที่ต้องการทำการตลาดออนไลน์เพื่อขายสินค้าประเภทความรู้ เช่นเรียนรู้ในการสร้าง Content Marketing และการสร้าง Personal Branding
และที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ คอร์สที่ว่ามาทั้งหมดนี้ ทาง Leader Wings เองได้นำคอร์สวีดีโอดังกล่าว มาเข้าในโครงการที่ชื่อว่า Leader Wings Academy โดยสำหรับผู้ที่เข้าร่วมลงทะเบียนในโครงการนี้ จะสามารถเรียนคอร์สวีดีโอที่มีอยู่ทั้งหมดบน Leader Wings ได้ในรูปแบบของ “บุฟเฟต์” รับชมได้ไม่อั้น และสำหรับผู้ที่ลงทะเบียนใน Phrase ที่ 1 นั้น จะได้สิทธิ์เป็นสมาชิกตลอดชีพทันที (จากปกติสิทธิ์ละ 1 ปี)
และหลังจากนั้น ก็จะมีการอัพเดทคอร์สวีดีโอใหม่ ๆ อีกมากมายที่อยู่ในหัวข้อเรื่อง การตลาด การขาย และการบริหารธุรกิจ ที่ทางผมและทีมงาน Leader Wings จะนำเนื้อหาจากวิทยากร อาจารย์ และผู้บรรยาย ที่เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ มาให้ความรู้กับผู้ที่เข้าร่วมโครงการมา อัพเดทใหม่ทุกเดือน มูลค่าคอร์สรวมแล้วหลักหมื่น หลักแสน แต่ Leader Wings ได้นำข้อเสนอพิเศษนี้มาในราคาบุฟเฟต์ที่คุ้มค่าสุด ๆ เพียง 5,900 บาทเท่านั้น
ย้ำว่า สำหรับลูกค้า Phrase ที่ 1 จะได้รับสิทธิการเข้าเรียนบุฟเฟต์ตลอดชีพ โดยเมื่อมีคอร์สใหม่อัพเดท ท่านไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ กับคอร์สเรียนเพิ่มเติมอีก เพื่อเป็นการตอบแทนแฟน ๆ ชาว Leader Wings ที่คอยติดตามและสนับสนุนพวกเราเรื่อยมา พวกเราจึงอยากส่งมอบความรู้ดี ๆ แบบไม่อั้น ให้กับแฟน ๆ Leader Wings โดยเฉพาะ
โดยท่านที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ Leader Wings Academy Phrase I นี้ สามารถลงทะเบียนได้ทันที ที่นี่ –http://bit.ly/2djOZbc
(ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายขาย โทร. 089-629-5476 ตลอด 24 ชั่วโมง)

ขั้นตอนที่ 3: ค้นหาสิ่งที่กลุ่มลูกค้าต้องการฟัง

หลังจากที่เลือกกลุ่มลูกค้าได้แล้ว สิ่งที่เราต้องทำต่อมาก็คือ การค้นหาสิ่งที่พวกเขาต้องการ ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือ ปัญหาที่พวกเขากลุ่มนี้มักจะเจอ แก้ไม่ตก หรือต้องการความรู้บางอย่างเพิ่มเติม
เมื่อเราค้นหาสิ่งที่พวกเขาต้องการได้แล้วนั้น ขั้นตอนต่อมาก็คือ เราต้องหาวิธีแก้ไขปัญหาให้พวกเขาเหล่านั้นให้ได้ และนี่เป็นหน้าที่หลักของเรา ที่จะนำเสนอสินค้าหรือบริการของเรา เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านั้น
หลักการคือ การมอบ Value Content หรือเนื้อหาที่เป็นประโยชร์ต่อกลุ่มลูกค้าของเรา แบบฟรี ๆ เพื่อให้เกิดการติดตาม เกิดความน่าเชื่อถือ และนำไปสู่การปิดการขาย และบอกต่อในที่สุด
PourquoiPas / Pixabay

ขั้นตอนที่ 4: สร้าง Story ของคุณขึ้นมา

ในการสานสัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้าของเรา จำเป็นที่จะต้องมีเรื่องราวในการผจญภัยของเรา ซึ่งสิ่งที่ผู้คนต้องการฟังไม่ใช่เป็นเรื่องที่สำเร็จเพียงอย่างเดียว ผู้คนก็ต้องการฟังเรื่องที่เราล้มเหลว หรือฝ่าฟันอุปสรรคนั้น ๆ มาได้ด้วย ซึ่งจะทำให้ผู้ฟังมีอารมณ์ร่วมไปกับเราได้ดียิ่งขึ้น และเรื่องที่เล่านั้นจะต้องเป็นเรื่องจริงจากประสบการณ์ของเรา เพื่อที่เขาจะนำไปปรับใช้หรือเป็นแรงบันดาลใจได้
เมื่อกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้เสพย์ Story ของคุณแล้ว พวกเขาก็จะเริ่มมองว่าเคยมีปัญหาเดียวกัน นี่พวกเดียวกันชัด ๆ
สิ่งที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายมองหาต่อมาก็คือ แล้วทำอย่างไรจึงจะแก้ไขปัญหาได้ และตอนนี้นี่เองเราก็มีหน้าที่ช่วยแก้ไขปัญหาที่เราเคยพบมาก่อนให้กับพวกเขา
เพราะทุก ๆ ธุรกิจ มักจะเกิดขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาหรือตอบโจทย์ผู้คนอะไรบางอย่างอยู่เสมอ ดังนั้น หากเราสามารถสร้างสินค้าหรือบริการที่ตอบโจทย์ได้ ผู้คนก็ยินดีที่จะจ่ายค่าตอบแทนคืนกลับมาในราคาที่สมน้ำสมเนื้อ

ขั้นตอนที่ 5: ค้นหาและสร้างวิธีแก้ไขปัญหา

มาถึงตอนนี้เราทราบปัญหาของกลุ่มลูกค้าของเรามาพอสมควรแล้ว และตอนนี้เราต้องการที่จะสร้างรายได้ ดังนั้นเราจำเป็นที่จะต้องสร้างสินค้าที่สามารถแก้ไขปัญหาให้กลุ่มลูกค้าของเรา เพราะสินค้าเหล่านี้จะเป็นตัวที่พาให้เราสร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำขึ้นมา

ขั้นตอนที่ 6: สร้างเว็บไซต์

แน่นอนครับว่าในสมัยนี้ก็คงหนีไม่พ้นการสร้างเว็บไซต์ ซึ่งในปัจจุบันเป็นยุคที่สร้างเว็บไซต์ได้มากกว่าสมัยก่อนมาก ๆ เพราะแทบจะไม่ต้องเรียนภาษาคอมพิวเตอร์ที่มีความซับซ้อน และเว็บไซต์ที่ผมแนะนำให้ใช้ก็คือ WordPress ซึ่งเป็น เว็บไซต์ประเภทหนึ่งที่เรียกว่า Weblog หรือ Blog นั่นเอง
โดยเพื่อน ๆ สามารถเรียนรู้ WordPress เบื้องต้น ที่ผมสร้างเอาไว้เพื่อช่วยให้เพื่อน ๆ ฝึกฝนใช้งาน WordPress ได้คล่องยิ่งขึ้น
สาเหตุที่ต้องสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาก็คือ มันสามารถเข้าถึงกลุ่มคนได้จำนวนมหาศาลในค่าใช้จ่ายที่ถูกมาก (มาก ๆ)
สำหรับท่านใดที่ต้องการเรียนรู้การสร้างเว็บไซต์อย่างง่าย ๆ ด้วยตนเอง ใน 1 ชั่วโมง สามารถเรียนรู้ได้ที่นี่เลยครับ – https://www.youtube.com/watch?v=JEEwLfzezEM&list=PL5x99ojY-qWAsUohQo5nwUzpwA_4Dc0VN

ขั้นตอนที่ 7: การสร้างแคมเปญเกี่ยวกับสินค้าของคุณ

การทำ Campaign แตกต่างจากการทำ Promotion

การทำ Campaign

เป็นกลยุทธ์หนึ่งของการโปรโมท ก่อนที่จะนำไปสู่ผลัพธ์ที่เราต้องการ เช่น การส่งบทความ วีดีโอ หรือเนื้อหาที่มีประโยชน์ต่อผู้ฟังของเรา เพื่อสานสัมพันธ์ก่อนที่จะเกิดการซื้อขายขึ้น

การโปรโมท Promotion  

การส่งข้อความการขายล้วน ๆ เช่น สิ้นปีนี้โปรโมชั่นพิเศษลด 50% ทุกรายการส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ก่อน 31 ธ.ค. นี้เท่านั้น ซึ่งจบแล้วจบเลย ไม่มีการสานสัมพันธ์ต่อใด ๆ กับผู้ฟัง
สรุปง่ายก็คือ Campaign เป็นขั้นตอนที่ต้องทำก่อนที่จะเกิดการซื้อ-ขาย หรือการทำ Promotion
เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้ฟังอย่างต่อเนื่อง และเมื่อผู้ฟังเกิดความรู้สึกที่ดีต่อเรา ก็จะทำให้เกิดการซื้อ-ขาย ที่ดี

ขั้นตอนที่ 8: หาพาร์ทเนอร์ในการส่งเสริมการตลาด

หลังจากที่เราทุ่มเทอย่างมากสำหรับเว็บไซต์ของเราแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะต้องหาพาร์ทเนอร์ในการส่งข้อความของเราออกไปให้กว้างและไกลมากยิ่งขึ้น ซึ่งถ้าเราทำโดยเพียงลำพัง มันก็จะไปไกลแค่ระดับหนึ่งเท่านั้น
แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เราสร้าง Connection กับคนอื่น ๆ ในหัวข้อเรื่องเดียวกันกับเรา โดยให้เราสร้างความสัมพันธ์อันดีกับกูรูที่อยู่ในวงการเดียวกันนี้
เช่น การพบปะในงานสังสรรค์ งานอบรมสัมนา ซึ่งหน้าที่ของเราก็คือสร้างความสัมพันธ์อันดีกับพวกเขาเอาไว้ และเมื่อไหร่ก็ตามที่บรรดากูรูเหล่านั้นเห็นคุณค่าของเรา บางทีเขาอาจจะช่วยเราโปรโมทเว็บไซต์หรือเรื่องราวของเรานั่นเอง

ขั้นตอนที่ 9: โพสต์เนื้อหาฟรี

ผมมักจะมีสโลแกนประจำใจเกี่ยวกับเนื้อหาฟรีคือ
“ของฟรีต้องดีมาก ๆ และของที่เสียตังค์นั้นยิ่งต้องดีกว่าได้อีก”
จุดประสงค์หลักก็คือการเพิ่มมูลค่าให้กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย หรือสร้างประโยชน์ให้กับผู้ฟังเป็นหลัก และทำให้ผู้ฟังนั้นเกิดความรู้สึกประมาณว่า เราอธิบายเนื้อหาได้ดี เนื้อหามีประโยชน์และสามารถแก้ไขปัญหาได้จริง คนทำเนื้อหาใจดีจังที่ทำเนื้อหาดี ๆ แบบนี้ออกมา หรือประมาณว่า คน ๆ นี้ดีจัง มีแต่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทั้งนั้นเลย
จนเกิดการติดตามหรือกลุ่มแฟนคลับขึ้นมา และบางทีก็อาจจะลองอุดหนุนสินค้าของเรา เป็นต้น
และแน่นอนว่า Content เป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเว็บไซต์เลยก็ว่าได้ เพราะหน้าที่ของ Content จะนำผู้คนเข้ามาเยี่ยมชมยังเว็บไซต์ของเรามากขึ้นและเมื่อคนเยี่ยมชมเว็บไซต์มากยิ่งขึ้น นั่นหมายถึงโอกาสที่จะสร้างรายได้ก็มากขึ้นตามไปด้วย

ขั้นตอนที่ 10: เน้นไปที่การสร้างมูลค่าเพิ่ม, สร้างความโดดเด่นที่แตกต่าง และการบริการ

Value – การสร้างมูลค่าเพิ่ม

การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ฟัง โดยการให้ข้อมูลดี ๆ สินค้าดี ๆ เนื้อหาที่ดี จนผู้ฟังเกิดความชอบในแบรนด์ของคุณ ติดตามคุณ และซื้อของจากคุณ

Distinction – การสร้างความโดดเด่นที่แตกต่าง

สร้างความแตกต่าง ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตัวเราเอง ลอกเลียนแบบคนอื่นได้ แต่ต้องยังคงเอกลักษณ์ของตัวเองเอาไว้ และให้สิ่งที่เว็บไซต์อื่นหรือคนอื่นให้ไม่ได้ ซึ่งทำให้ผู้ฟังรู้สึกให้ได้ว่า มาหาเราแล้วแตกต่างจากที่อื่น หาได้เฉพาะที่เว็บไซต์เรา

Service – การให้บริการ

Customer Service: เป็นพื้นฐานของการซื้อ-ขาย ซึ่งเราอาจจะเรียกว่าบริการหลังการขาย และหน้าที่หลักของเราก็คือ ให้เนื้อหาที่มีประโยชน์ต่อผู้ฟังของเราอยู่เสมอ
และท้ายที่สุดนี้ ผมเองก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านผู้อ่านจะได้รับความรู้ไปปรับใช้ ไปเริ่มต้นการทำธุรกิจใหม่ ๆ ของท่าน
และหากท่านชอบบทความนี้ โปรดแชร์ไปยังเพื่อน ๆ อีกหลาย ๆ คนที่อยากที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจ ให้ได้มีความรู้พื้นฐานเพื่อเริ่มต้นได้ง่ายยิ่งขึ้น
และสำหรับแฟน ๆ Leader Wings ที่คอยติดตามและสนับสนุนพวกเราเรื่อยมา ผมและทีมงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการ Leader Wings Academy จะช่วยให้ท่านได้รับความรู้ในการทำการตลาด การขาย และการบริหารธุรกิจ เพิ่มมากขึ้น และนำไปปรับใช้กับธุรกิจของท่าน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น